Tuesday, March 11, 2008

โฟร์-มด ปะทะ ยอดหญิง เทควันโด วิว-เยาวภา


วันนี้เรามีนัดกับ 2 สาว คู่ดูโอ วัยใส น่ารักมากกก... four-mod (โฟร์-มด) จากค่าย ไอดี เร็คคอร์ด โฟร์-ศกลรัตน์ วรอุไร และ มด-ชุติมณฑน์ ชัยรัตน์ เพื่อไปทำกิจกรรมมันส์ๆ ที่ดูออกจะขัดกับภาพน่ารักๆ ที่เคยเห็น อยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะ ตามกันไปดูเลย..ถึงเวลานัด 2 สาว โฟร์และมด มาถึงพร้อมกันในชุดกีฬา ทะมัดทะแมงเชียว วันนี้เราจะไปไหนกันจ๊ะสาวๆ บอกเพื่อนๆ หน่อย“อ๋อ สวัสดีค่ะ ทุกๆ คน ดีใจจังวันนี้จะไปกับเราด้วยเหรอคะ แหม..ดีเลยค่ะ กำลังอยากได้กำลังใจอยู่พอดี”..เจอหน้าก็อ้อนแฟนๆ เชียวนะคะน้องมด แต่จะบอกได้หรือยังค่ะว่าเราจะไปไหนกันน้องโฟร์“วันนี้เราจะไปเรียน เทควันโด กันค่ะ จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ที่วิว-เยาวภาค่ะ”และแล้ว..พวกเราก็มาถึง วิวเทควันโดคลับ จากชื่อก็รู้แล้วใช่ไหมคะว่าที่นี่เป็นยิม ในการดูแลของ เจ้าของเหรียญเงิน กีฬามหาวิทยาลัยโลก เมื่อเดือนที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ วิว – เยาวภา บุรพลชัย วันนี้นอกจากจะมาฝากตัวเป็นศิษย์พี่วิวแล้ว 2 สาวยังนำดอกไม้มาแสดงความยินดีกับความสำเร็จในการคว้าเหรียญในครั้งนี้ด้วย“ อ้าว สวัสดีค่ะ สาวๆ มาถึงกันแล้ว นี่ชุดเทควันโด เปลี่ยนเสื้อผ้าได้เลย แล้วไปเจอกันที่ห้องเรียนนะคะ”... พี่วิวหาชุดให้น้องโฟร์กับน้องมดแล้ว ก็เห็น2 สาวเก้ๆ กังๆ ประมาณว่า..ชุดนี้ใส่ยังไงล่ะเนี้ย..อิอิ ก็เลยต้องสอนสาวๆ ใส่ชุดกันพักหนึ่งก่อน หรือจะเรียกง่ายๆ คือ พี่วิวก็จัดการช่วย 2 สาว ใส่ชุดจนเสร็จเรียบร้อย และเดินไปห้องเรียนพร้อมกัน ในห้องเรียนมีลูกศิษย์ตัวน้อยๆ ของครูวิวรออยู่แล้ว...ทุกคนอยู่ในชุดเทควันโด น่ารักมากกก...ท่าทางคงมาฝึกกันตั้งแต่เช้าแล้ว ตอนนี้ครูวิวเลยสั่งให้พัก ส่วน 2 สาว กำลังจะเริ่มต้นฝึกต่อเลย“เอาละ ถ้าพร้อมแล้ว เริ่มได้ ให้วิ่งซิกแซกรอบกรวย 10 รอบ ภายใน 1 นาที เสร็จแล้วก็วิ่งไปกลับขอบสนามคนละ 5 รอบ ตามด้วยกระโดดแทงเข่าคู่ ปฏิบัติ!!”“ห๋า...!!.....” ไม่ต้องสงสัยว่าเสียงนี้ต้องมาจากสาวๆ แน่นอน ถึงจะฟังดูโหดแค่ไหน โฟร์-มด ก็ไม่ย่อท้อ ปฏิบัติ ตามคำสั่งพี่วิวอย่างเคร่งครัด หลังจากนั้นประมาณ 10 นาที ภาพที่เราเห็นก็คือ 2 สาวนั่งหอบแฮ่กๆ ฟังคำสั่งครูฝึกต่อ ทีนี้ สาวๆ ได้ฝึกเตะเป้า ฝึกชก ดูเหมือนว่าการฝึกช่วงนี้จะเป็นที่โปรดปรานของสาวๆ มากกว่าช่วงวอร์มเมื่อครู่เยอะ ดูท่าทางขมักเขม่นดีทีเดียว จนพี่วิว อดเอ่ยปากชมไม่ได้ ว่า โฟร์ กับ มด มีแววรุ่ง หนุ่มๆ ได้ยินแล้ว คงมีหนาวกันบ้างล่ะ ช่วงพักก็เลยถาม 2 สาว ถึงความรู้สึกที่ได้มาฝึก เทควันโดในวันนี้“ดีใจมากค่ะ ที่ได้มาฝึกกับพี่วิว เพราะจริงๆ แล้ว เรา 2 คน ปลื้มพี่วิวอยู่ก่อนแล้ว เพราะพี่วิวเก่งมาก และดูเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน พอมาเจอตัวจริงพี่วิวน่ารักมาก เป็นกันเอง ฮาๆ ดีค่ะ แต่ยอมรับนะคะว่าตอนแรกก็กลัวๆ เหมือนกัน ว่าจะทำได้รึเปล่า เพราะนี่เป็นการฝึกเทควันโด ครั้งแรกในชีวิตของมดเลยค่ะ แต่พอได้มาฝึกจริงก็รู้สึกดีค่ะ สนุกด้วย”แล้วโฟร์ล่ะคะ เหนื่อยมั้ย จะเข็ดรึเปล่า“(หัวเราะ)...ไม่เข็ดค่ะ ชอบเลยล่ะ ไม่คิดว่าศิลปะการป้องกันตัวแบบเทควันโด พอได้ฝึกจริงๆ แล้ว สนุกค่ะ และทำให้เราได้ประโยชน์ด้วย นอกจากไว้ป้องกันตัวแล้ว ก็เป็นกีฬาที่ถ้าได้ ฝึกบ่อยๆ แล้ว จะทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย นี่ก็จะถามรายละเอียดจากพี่วิวค่ะ ถ้ามีโอกาสอยากจะมาเรียนจริงๆ จังๆ เลย”เอาล่ะสิ ดูท่าว่า 2 สาว โฟร์-มด จะติดใจเข้าจริงๆ แล้ว กับการเรียน เทควันโด ไม่เชื่อก็ดูลีลาท่าเตะซะก่อน หนุ่มๆ เห็นแล้ว ต้องมีอึ้งกันบ้างล่ะ หลังจากเรียนและฝึกกันทั้งวันแล้ว ก่อนจากกันน้องโฟร์กับน้องมดก็เลยแสดงความขอบคุณกับพี่วิว โดยการ บังคับ เอ้ย! สอนพี่วิว เต้นท่า “หายใจเป็นเธอ” เป็นการตอบแทน ได้เห็นลีลาของพี่วิวแล้ว ขอบอก งานนี้ 2 สาว โฟร์-มด ต้องหนาวเหมือนกัน อิอิ ถ้ายังไม่จุใจ อยากรู้ อยากเห็น กันมากกว่านี้ล่ะก็ เพื่อนๆ สามารถติดตามชมภาพและเรื่องราวทั้งหมด กันได้ในรายการ แอน-นัท ไม่จำกัด ในคืนวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม นี้นะคะ รับรองสนุกสนานกันจนจบคอร์สเลยคะ

Monday, March 10, 2008

โค้ชหลีเตือน"น้องวิว" อย่าหลงระเริงแสงสีมิเช่นนั้นอนาคตวูบ



เช ยอง ซุก โค้ชเทควันโดชาวเกาหลีของทีมชาติไทย ออกโรงกระชุ่น "น้องวิว" เยาวภา บุรพลชัย อย่าหลงแสงสีจนลืมตัว มิเช่นนั้นอนาคตในโอลิมปิกอีก 4 ปีข้างหน้าที่จีนดับวูบแน่ เหตุเดินสายรับงานมากจนเกินไป พร้อมแนะถึงเวลาอันควรที่จะหยุดเดินสาย ดูแลตัวเองได้แล้ว ขณะที่ศึกซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์ ยอมรับงานหิน แต่จะพยายามทำให้ได้เหรียญทองเหมือน "ฮานอยเกมส์" ที่ผ่านมา
เช ยอง ซุก โค้ชเทควันโดทีมชาติไทยชาวเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า จากกระแสความโด่งดังของ "น้องวิว" เยาวภา บุรพลชัย เจ้าของเหรียญทองแดงโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ที่ได้รับการตอบสนองจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างดี จนมีงานต่างๆ เข้ามามากมาย ในฐานะที่เป็นโค้ชดูแลนักกีฬาอยู่ รู้สึกอดเป็นห่วง "น้องวิว" ไม่ได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันมาดูแลตัวเองบ้าง อย่าได้ไปหลงระเริงกับแสงสีมากนัก เพราะสิ่งนั้นมันไม่ยั่งยืนเท่ากับการเป็น "ฮีโร่" เรื่องกีฬา
เนื่องจากตัวของ เยาวภา เองอายุยังน้อย สามารถกอบโกยสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองได้อีกมาก แต่ถ้าหากไปหลงระเริงกับสิ่งยั่วยุภายนอก อนาคตเกี่ยวกับกีฬาเทควันโดอาจต้องยุติลงได้เพราะคนรู้จักตัวเขามาจากกีฬาเทควันโด ไม่ใช่นักแสดงหรือศิลปินดาราอย่างที่เห็นทุกวันนี้ โดยเฉพาะเป้าหมายโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน อีก 4 ปีข้างหน้า หาก เยาวภา ดูแลตัวเองเป็นอย่างดี แน่นอนว่ายังเป็นตัวความหวังหลักที่จะสร้างชื่อเสียงกับสมาคม แต่ถ้าปล่อยตัวหรือเป็นเช่นนี้อยู่ เชื่อว่าจะถึงจุดอิ่มตัวและไม่มีแรงผลักดันให้มีความมุ่งมั่นกับการเก็บตัวฝึกซ้อมเหมือนที่ผ่านมา
โค้ชแดนโสมยังได้กล่าวอีกว่า ช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา สมาคมได้ปล่อยตัวให้ "น้องวิว" เดินสายรับงานต่างๆ มากแล้ว ถึงเวลาแล้วที่เขาจะต้องปฏิเสธและกลับมามุ่งมั่นในกีฬาเทควันโดเหมือนเดิม ส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ เยาวภา ที่มีมากกว่านักกีฬาคนอื่นๆ ก็คือ ความมุ่งมั่นอดทนรวมไปถึงหัวใจเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้บางครั้งได้ซ้อมหนักมากก็ไม่เคยปริปาก ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีที่นักเทควันโดคนอื่นควรเอาเยี่ยงอย่าง







รู้จัก เยาวภา บุรพลชัย

นางสาวเยาวภา บุรพลชัย (ชื่อเล่น: วิว) นักกีฬาเทควันโดหญิง ทีมชาติไทย เจ้าของเหรียญทองแดง การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ โดยได้จากการแข่งขันในรุ่น 47-51 กิโลกรัมประวัติส่วนตัว
นางสาวเยาวภา เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2527 เป็นบุตรีของ ร้อยตรีธำรง และ นางสมศรี บุรพลชัย มีน้องชาย 1 คน คือ นายประกิต บุรพลชัย เริ่มเล่นเทควันโดครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 15 ปี ขณะศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ผลงาน
เมื่อปี
พ.ศ. 2542 ลงแข่งขันรายการ Pro Junior ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ เป็นรายการแรก ได้รับรางวัลชนะเลิศ หลังจากนั้น มีผลงานสำคัญที่ได้รับรางวัลดังนี้
เหรียญเงิน
เอเชียนเกมส์ 2002 ที่ปูซาน เกาหลีใต้ พ.ศ. 2545
เหรียญทองแดง
กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่แทกู เกาหลีใต้ พ.ศ. 2546
เหรียญทองแดง ชิงแชมป์โลก ที่
เยอรมัน พ.ศ. 2546
เหรียญทอง
ซีเกมส์ 2003 ที่เวียดนาม พ.ศ. 2546
เหรียญทองแดง
โอลิมปิก ที่กรีซ พ.ศ. 2547
เหรียญเงิน กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่
ตุรกี พ.ศ. 2548
เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่ไทย
พ.ศ. 2549
เหรียญทอง World cup ที่ไทย พ.ศ. 2549
โดยมี
อาจารย์ครรชิต อมรภักดี เป็นผู้ฝึกสอนคนแรก ปัจจุบันมี อาจารย์ เช ยอง ซุก โค้ชทีมชาติไทย เป็นผู้ฝึกสอน

เทควันโดยุคปัจจุบัน
หลังจากที่ประเทศเกาหลีได้รับการประกาศเอกราชเป็นอิสระภาพจากการปกครองของประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวเกาหลีเริ่มได้มีการพัฒนาขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของชาติขึ้น ปรมาจารย์ผู้อาวุโส ซองคุกดี แห่งสำนัก เทคิวโด (TeakKyondo) ได้แสดงสาธิตศิลปะป้องกันตัวเทควันโดขี้น ต่อหน้าประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลี โดย ฯพณฯ นายยังแมนลี (Syngman Rhee)ในโอกาส วันคล้ายวันเกิดของอาจารย์ซองคุกคี ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างของวิชาศิลปะการต่อสู้แบบเทควันโดและคาราเต้ ของญี่ปุ่น อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกของการจุดประกายวิชานี้ขึ้นมาให้สาธารณชนได้รับรู้ ต่อมาก็ได้มีการเปิดโรงฝึก (Gymnasiu) ของวิชาเทควันโดไปทั่วประเทศเกาหลี และหลังจากสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 – 1953 ) วิชาเทควันโดก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากไปทั่วประเทศเกาหลี ได้มีการผลิตและส่งผู้เชี่ยวชาญ ครูฝึกสอนวิชาเทควันโด ออกไปเผยแพร่ยังต่างประเทศกว่า 2,000 คนในประเทศกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

กว่าจะมาเป็นเทควันโด

เทควันโด คือ ศิลปะป้องกันตัวชนิดหนึ่งที่ในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นกีฬาสากล ได้มีการพัฒนาวิชาการนี้อย่างเป็นอิสระและต่อเนื่องกว่า 2,000 ปี ในประเทศเกาหลี หลักของศิลปะวิชาเทควันโดแต่เดิม เป็นการต่อสู้ของลูกผู้ชาย โดยการใช้มือและเท้าทำลายศัตรูในอดีต พื้นฐานของศิลปะการต่อสู้เทควันโดได้เน้นถึง หลักการต่อสู้ทั้งร่างกายและจิตวิญญาณของผู้นำวิชานี้ไปใช้ เพื่อป้องกันการรุกรานของศัตรูในการรบ ในอดีตกาลของมนุษย์เราได้ใช้ชีวิต อยู่อย่างเรียบง่ายไม่มีการพัฒนาความแข็งแกร่งของร่างกาย จึงทำให้เมื่อถึงวัยชราจะมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงและเจ็บป๋วยล้มตายได้ง่าย วิชาเทควันโดได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะของร่างกายให้มีความเข้มแข็ง ถูกหลักอนามัยด้วยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายของเรามีคุณภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจความเชื่อในอดีตของวิชาเทควันโด เป็นการฝึกให้สุภาพบุรุษเป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่น มีความเข้มแข็ง เป็นผู้นำ ไม่เพียงแต่มีการพัฒนาทั้งจิตใจและร่างกายให้เข้มแข็งกันไปด้วย แต่สามารถเรียนรู้ถึงศิลปะชั้นสูง ที่จะใช้ส่วนสำคัญต่างๆของมนุษย์เรามาเป็นอาวุธในการทำลายศัตรูได้อย่างง่าย อาทิเช่น การใช้ศิลปะของมือ,ข้อศอก ,เข่า,เท้า, และศีรษะ เป็นต้น